การจัดการหนู(Rodent management)
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าหนูเป็นสัตว์ที่ฉลาด สามารถหลบเลี่ยง หรือหลบหลีกวิธีการปฎิบัติที่ใช้ควบคุมและลดปริมาณหนูได้ การป้องกันและกำจัดหนูจึงต้องใช้วิธีการหลาย ๆวิธีไปพร้อมกันจึงจะประสบความสำเร็จ ดังนั้น หลักการจัดการหนูแบบบูรณาการ (integrated rodent pest management)จึงควรน้ำมาใช้เป็นยุทธวิธีในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดหนู ซึ่งถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าวิธีอื่นใดโดยมีขั้นตอน ดังนี้
1.การสำรวจปริมาณหนูจากร่องรอยของหนูและประเมินปัญหาหนูในพื้นที่ ตลอดจนการทำแผนที่สภาพพื้นที่ต้องการควบคุมหนู ตำแหน่งที่วางภาชนะใส่เหยือพิษ และวางแผนการปฎิบัติงานโดย
1.1 สำรวจร่องรอยของหนู มีความสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการป้องกันและกำจัดหนู เพราะช่วยให้ทราบว่ามีหนูอยู่บริเวณนั้นหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด ร่องรอยหนูที่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้
-รอยกัดแทะ เนื่องจากหนูมีนิสัยชอบกัดแทะเพื่อกินอาหารและลับฟัน หากเราพบรอบกัดแทะใหม่ๆของอาหาร หรือสิ่งของต่างๆ สามารถยืนยันได้ว่า ณ ที่นั้นมีหนูอยู่ และอาจจำแนกชนิดของหนูที่มีอยู่ได้ว่าเป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่จากขนาดของร่องรอยกัดแทะนั้น
-โพรง หรือรูหนู หนูนอรเวชอบอาศัยในที่ที่มีลักษณะเปียก ชื่น เรียบมัน อาจขุดรูเป็นโพรงลงในดิน และมักมีขุยดินมากมายกองหน้าปากรูเข้าทาง หรืออาจอาศัยบริเวณที่พักและน้ำท่วมไม่ถึงภายในท่อระบายน้ำสำหรับรูของหนูท้องขาวบ้านมักไม่พบขุยดิน
– รอยทางเดิน และรอยตีนหนู หนูใช้เส้นทางเดิมเวลาออกหากินเสมอ ถ้าพบหนูอาศัยภายนอกอาคารหรือบ้านพักอาศัย จะเห็นทางเดินเล็กๆบนผิวดินบริเวณใกล้กำแพงเป็นทางเรียบ หรือรอบต้นไม้ที่หนูชอบปีนป่ายไปหาอาหารหรือที่พักอาศัย มักพบรอยครบสกปรกดำ เนื่องจากไขมันจากขนบริเวณท้องและปัสสาวะ
– มูลหนู และปัสสวะหนู มูลของหนูใหม่ๆจะเปียก เป็นมัน มักพบบริเวณที่กินอาหาร บริเวณที่พบมูลหนู จะพบรอยเปียกปัสสาวะหนูในบริเวณที่กินอาหารเช่นกัน
2.การป้องกันและกำจัดหนูโดยวิธีต่างๆ
2.1 โดยวิธีการสุขวิทยาและสุขภิบาลสิ่งแวดล้อม (sanitation and environmental management)การปรับปรุงสภาพแวดล้อมตามแหล่งที่อยู่อาศัย โดยใช้หลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่เน้นรักษาความสะอาด บ้านเรือนแหล่งชุมชน
2.2 โดยวิธีกล (Mechanical control)
– ใช้กรงดัก
– ใช้กับดักแบบต่างๆ
– ใช้กาวดัก
ที่มา : รูปภากจากอินเตอร์เน็ต
: คู่มือ ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตราย เพื่อใช้รับจ้าง